วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 2 วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ.2559

การบันทึกครั้งที่ 2วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ.2559 

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมก่อนการเรียนการสอน

อาจารย์ให้นักศึกษาดูวิดีโอ


  • ให้นักศึกษาร่วมแสดงความคิดเห็นว่าได้อะไรจากวิดีโอนี้บ้าง

กิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน
อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 5-6  คนเพื่อร่วมทำกิจกรรม กิจกรรมที่ทำนี้จะได้ทั้งความคิดสร้างสรรค์ ความสามัคคีและการวางแผนการทำงานร่วมกันภายในกลุ่ม

ชื่อกิจกรรม Marshmallow Tower
อุปกรณ์
- กระดาษ 1 แผ่น
- ดินน้ำมัน
- ไม้จิ้มฟัน

การทำกิจกรรมนี้มีกติกาอยู่ว่า ให้ออกแบบอย่างไรก็ได้ให้มีความสูงที่สุดโดยใช้แค่อุปกรณ์ทั้ง3อย่างเท่านั้น
  • รอบแรกนั้นอาจารย์ไม่ให้ทุกคนภายในกลุมพูดคุยหรือปรึกษากัน ทำได้แค่ใช้สายตาหากันเท่านั้น
  • รอบที่สอง ให้ตั้งผู้นำกลุ่ม1คนแล้วให้คนเป็นผู้นำออกคำสั่งได้คนเดียวเท่านั้น
  • รอบที่สาม ให้ทุกคนภายในกลุ่มช่วยกันระดมความคิด
ในรอบแรกกลุ่มของดิฉันได้ความสูงอยู่ที่ 23 เซนติเมตร
รอบที่สอง 53 เซนติเมตร
รอบที่สาม 39 เซนติเมตร






เข้าสู่บทเรียน
การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การเล่น
• กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
• ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
• ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม 
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
Piaget กล่าวถึงพัฒนาการการเล่นของเด็กว่ามี ขั้น ดังนี้
1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส 
(Sensorimotor Play)
• สำรวจ จับต้องวัตถุ
• ยุติลงเมื่อเด็ก ขวบ
2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play)
• อายุ 1 ½ - 2 ปี
• การเล่นที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
• เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง
3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play)
• ขวบขึ้นไป
• สามารถพัฒนาการเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ
• เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่างๆที่ไม่มีอยู่ที่นั่น
• ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุด คือ การเล่นบทบาทสมมติ
ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
• การเล่นกลางแจ้ง
• การเล่นในร่ม
การเล่นในร่ม
• การเล่นตามมุมประสบการณ์
• การเล่นสรรค์สร้าง
การเล่นสรรค์สร้าง
• การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี
• ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
• เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง
องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง 
(Formann and Hill, 1980)
1. สภาวะการเรียนรู้
• เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็กโดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
• การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
• การเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น
• การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
• การเรียนรู้เหตุและผล
2. พัฒนาการของการรู้คิด
• ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน
• กระบวนการเรียนรู้
• กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
• เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
• การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
• การจำแนกอย่างมีเหตุผล
หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
• ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
• ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
• มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
• มีการสรุปท้ายกิจกรรม


กิจกรรมเรือน้อยบรรทุกของ


อุปกรณ์
- กระดาษ A4 1 แผ่น
- หลอด 2 อัน
- หนังยาง
ให้นักศึกษาร่วมกันระดมความคิดช่วยกันทำยังไงก็ได้กับอุปกรณ์ที่ได้รับ ให้สามารถใส่ถุงซอสพร้อมรอยน้ำให้ได้มากที่สุด


สรุปกิจกรรม
กลุ่มแรกบรรทุกได้ 19 ซอง
กลุ่มที่สองบรรทุกได้ 45 ซอง
กลุ่มที่สามบรรทุกได้ 52 ซอง
กลุ่มที่สี่บรรทุกได้ 22 ซอง
กลุ่มที่ห้าบรรทุกได้ 12 ซอง
กลุ่มที่หกบรรทุกได้ 17 ซอง

 กิจกรรมดีไซเนอร์ระดับโลก
อาจารย์ให้เตรียมหนังสือพิมพ์มา
กติกาให้แต่ละกลุ่มออกแบบชุดจากหนังสือพิมพ์โดยมีส่วนประกอบดังนี้
- เสื้อ
- กระโปรง
- รองเท้า
- ที่ใส่ผม 
- กำไลแขน
- สร้อย

แต่ละกลุ่มช่วยกันทำอย่างตั้งใจ




ชุดของเพื่อนๆทุกกลุ่มออกมาเสร็จเรียบร้อย


การประเมินผล
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเตรียมอุปกรณ์มาตามที่อาจารย์สั่ง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและมีความสนุกสนานในทุกกิจกรรม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้จัดเตรียมแผนการสอนล่วงหน้าทำให้สอนได้อย่างมีระบบและไม่เครียดกับการเรียนมากเกินไป









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น