วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 9 วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2559

การบันทึกครั้งที่ 9
วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2559 

ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดชดเชย วันปิยมหาราช


วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 8 วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2559

การบันทึกครั้งที่ 8
วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2559 

เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ

ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ทบทวนความรู้ เรื่องความคิดสร้างสรรค์ที่ได้เรียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คือ กิจกรรม 4 กิจกรรม ได้แก่
1. กิจกรรมเป่าฟองสบู่ เป็นงานศิลปะที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือการใช้ซันไลด์ทำให้เกิดฟอง เมื่อนำไปเป่าลงบนกระดาษจะทำให้เกิดภาพสีต่างๆ ที่สวยงาม
2. กิจกรรมจานกระดาษ เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กคิดออกแบบโดยไม่มีขอบเขต
3. กิจกรรมพิมพ์มือภาพผีเสื้อ สามารถนำไปประยุกต์จัดประสบการณ์เด็กได้
4. กิจกรรมประดิษฐ์แมลง เด็กได้ทักษะการสังเกตการขยับเชือก

ต่อมา อาจารย์แจกกระดาษA4 คนละ 1 แผ่น พร้อมทั้งให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน วาดรูปตัวเลขตั้งแต่เลข 0-9 โดยตกลงกันในกลุ่มของเราว่าใครจะวาดเลขไหน 


ดิฉันวาดเลข 0 โดยตัวเลข0ของดิฉันนี้ เป็นการสื่อถึงไข่ใบกลมๆพร้อมทั้งระบายสีตกแต่งให้สวยงาม ตามจินตนาการของดิฉันเมื่อวาดเสร็จแล้วให้นำตัวเลขไปติดเรียงลำดับไว้ที่หน้ากระดาน



กิจกรรมสุดท้าย อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกแบบกิจกรรมให้กับเด็กเกี่ยวกับตัวเลขของกลุ่มตนเอง โดยทำเป็นสื่อการสอนรูปแบบใดก็ได้ และเมื่อทำแล้วเด็กจะต้องมีส่วนร่วมในการเรียนรู้กับสื่อการสอนนั้นๆ เมื่อปรึกษากันในกลุ่มเสร็จแล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน





 นำเสนอหน้าชั้นเรียน

กลุ่มที่ 1 สื่อการสอน ติดภาพตัวเลขและใช้ไม้ไอติมแทนจำนวนเป็นรูปเรขาคณิต

กลุ่มที่ 2 สื่อการสอน ใช้ไม้ไอติมแทนค่าจำนวนในตารางตามภาพตัวเลข

กลุ่มที่ 3 สื่อการสอน นิทานตัวเลข กลุ่มของดิฉัน


ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กได้ โดยการให้เด็กออกแบบตัวเลขของตนเองตามจินตนาโดยไม่จำกัดขอบเขตในการทำ 

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและตั้งใจทำงานกลุ่มเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 7 วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2559

การบันทึกครั้งที่ 7
วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2559

เนื้อหาที่เรียน / ความรู้ที่ได้รับ
ในการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์สอนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยมีฐานทั้งหมด 4 ฐาน 
และบอกวิธีการทำ พร้อมทั้งสามารถนำไปบรูณาการในวิชาต่างๆ ได้ 



ฐานที่ 1 ประดิษฐ์สื่อจากจานกระดาษ
โดยคุณครูให้เด็กคิดสร้างสรรค์ทำเป็นอะไรก็ได้ โดยสามารถนำไปบรูณาการวิชาวิทยาศาสตร์ได้
ดิฉันประดิษฐ์ จานกระดาษเปลี่ยนสี โดยที่นำถุงพลาสติกที่ใช้แล้วมาระบายสี 4 สี แล้วตัดจานกระดาษให้เป็นรูตรงกลางเพื่อนำถุงที่ระบายสีมาติด และวาดภาพเพื่อให้ภาพสะท้อนเป็นสีต่างๆ

ฐานที่ 2 เป่าสีฟองสบู่
เป็นกิจกรรมที่ผสมสีกับน้ำยาล้างจาน เมื่อเราใช้หลอดจุ่มสีมาเป่าลงกระดาษทำให้เกิดฟองสบู่เป็นสีขึ้นมา เมื่อฟองแตกก็จะกลายเป็นวงกลมบนกระดาษของเรา

ฐานที่ 3 วาดรูปแมลง
เป็นกิจกรรมที่คุณครูให้เด็กวาดรูปแมลงตามใจชอบลงบนกระดาษที่เป็นวงกลมและระบายสีให้สวยงาม เสร็จแล้วนำกระดาษไปติดกับแกนทิชชู่ที่เจาะรู แล้วนำเชือกผูกปมให้เรียบร้อย

ผลงานของฉัน


ฐานที่ 4 พิมพ์มือผีเสื้อ
เป็นกิจกรรมที่คุณครูให้เด็กทาสีลงบนมือทั้งสองข้าง แล้วนำสีไปทาบที่กระดาษจากนั้นตัดตามรอยรูปมือของเรา แล้วนำกระดาษที่ตัดยาวๆ มาติดด้านหลังปีกผีเสื้อเพื่อให้ปีกผีเสื้อขยับได้


ผลงานของฉันในทั้ง 4 ฐาน



ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กได้ โดยมีแนวทางในการคิดกิจกรรมสร้างสรรค์หลายรูปแบบเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้มากขึ้นจากการทำกิจกรรม

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและสนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาสอน
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียนและสนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาสอน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น


วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 6 วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2559

การบันทึกครั้งที่ 6
วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2559 

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

ในกิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอกิจกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนรู้แบบ STEM / STEAM

กลุ่มที่ 1 หน่วยบ้าน ( กิจกรรมสร้างบ้าน )
การบรูณา : ศิลปะ การออกแบบและคณิตศาสตร์





ผลงานของทุกกลุ่ม
กลุ่มที่ 2 หน่วยผลไม้ ( กิจกรรมมงกุฎผลไม้ )
การบรูณาการ : คณิตศาสตร์ ศิลปะ และการออกแบบ





ส่งนางงามมงกุฏผลไม้เข้าประกวด


กลุ่มที่ 3 หน่วยยานพาหนะ ( กิจกรรมหุ่นนิ้วยานพาหนะ )
การบรูณาการ : คณิตศาสตร์และศิลปะ



ผลงานของทุกกลุ่ม

กลุ่มที่ 4 หน่วยผลไม้ ( กิจกรรมโมเดลผลไม้ )
การบรูณาการ : การออกแบบและศิลปะ



ผลงานของทุกกลุ่ม

กลุ่มที่ 5 หน่วยปลา ( กิจกรรมตกแต่งจานกระดาษ )
การบรูณาการ : ศิลปะ การออกแบบและคณิตศาสตร์



ผลงานของทุกกลุ่ม
กลุ่มที่ 6 หน่วยไข่
กิจกรรมประดิษฐ์ตุ๊กตาล้มลุก (กลุ่มดิฉัน)
STEM & STEAM
Art  (ศิลปะ)
Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
Technology (เทคโนโลยี)

แนวคิด
การออกแบบชิ้นงานที่ทำจากเปลือกไข่ มีการวางแผนในการพัฒนาจากเปลือกไข่ให้มีความน่าสนใจ มีศิลปะสร้างสรรค์ตามจินตนาการที่เกิดขึ้น

วิธีการเรียนรู้
  • เตรียมอุปกรณ์ คือ กระดาษสี  กรรไกร  กาว  ไหมพรม และอุปกรณ์ตกแต่ง
  • นำเปลือกไข่ที่ทำความสะอาดแล้วมาออกแบบประดิษฐ์ผลงาน
  • ประดิษฐ์ตุ๊กตาล้มลุกตามจินตนาการ


ผลงานของทุกกลุ่ม

ความรู้ที่ได้รับและการนำไปประยุกต์ใช้
  • การนำกิจกรรมไปจัดการเรียนการสอนให้เด็กปฐมวัย ควรจะมีตัวอย่างให้เด็กทำเสมอ เพราะการพูดให้เด็กฟัง เด็กอาจจะไม่เข้าใจ แต่การเห็นรูปภาพ เห็นแบบอย่างทำให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้น
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอนและสนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาสอน
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนและไม่คุยกันในเวลาเรียนและสนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาสอน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ เตรียมการสอนมาดีมาก การเรียนเป็นไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ สามารถอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น